วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ☆ღ☆

      คำที่ใช้อยู่ในภาษาไทย มีทั้งคำไทยที่คนไทยสร้างขึ้นมาเอง ซึ่งบางทีเรียกกันว่า "คำไทยแท้" กับคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ ซึ่งอาจจะเรียกกันว่า "คำยืม" นักเรียนควรจำแนกคำไทยออกจากภาษาต่างประเทศได้ เพื่อเป็นพื้นฐานความเข้าใจเรื่องอิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย และเป็นประโยชน์ในการศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมให้เข้าถึงสุนทรียรสและอรรถรสด้วย

การจำแนกคำไทยออกจากภาษาต่างประเทศได้
นักเรียนต้องเข้าใจลักษณะของคำไทย
และลักษณะของคำภาษาต่างประเทศภาษาต่าง ๆ                              
ที่ไทยยืมมาใช้ในภาษาไทย ดังนี้

                                             การสังเกตลักษณะคำไทย

๑. มักเป็นคำพยางค์เดียว เช่น น้อง นั่ง ชม เดือน เห็น ดาว เต็ม ฟ้า
๒. สะกดตรงตามมาตรา เช่น เลก วัด นับ กุ้ง จน ลม วาย แล้ว
๓. ไม่มีตัวการันต์ เช่น โล่ มน ยัน อิน มีคำไทยแท้ที่มีตัวการันต์อยู่บ้าง ทั้งนี้เนื่องจาก
การแผลงอักษร เช่น ผิว (ผิว่า, ถ้าว่า, แม้นว่า, หากว่า) แผลงเป็น ผี้ว์
๔. ไม่อาจจะอ่านแยกพยางค์ได้ เช่น (เฉียบ)คม, วก(วน) จะไม่อ่านแยกเป็น
(เฉียบ-คะ-มะ), (วะ-กะ-วะ-นะ)

                                                                   ข้อสังเกต


มีคำยืมบางคำที่มีลักษณะเหมือนคำไทยแท้ เช่น แสะ(ม้า) บาย(ข้าว) ทั้งสองคำนี้เป็นคำยืมมาจากภาษาเขมร คำยืมลักษณะนี้นักเรียนจะต้องจดจำเป็นพิเศษ เพราะไม่อาจจะสังเกตจากลักษณะที่แตกต่างกันได้

                        การสังเกตลักษณะคำภาษาบาลีคำภาษาสันสกฤต(รวมๆกันทั้ง ๒ ภาษา)

๑. มักเป็นคำสองพยางค์ขึ้นไป เช่น อัชฌาสัย วัฒนา
๒. ถ้าเป็นคำพยางค์เดียว มักอ่านออกเสียงแยกพยางค์ได้ในบางบริบท ต่างกับคำไทย
ที่ไม่ออกเสียงแยกพยางค์ เช่น คม ชน ในบางบริบทอาจจะอ่านแยกพยางค์ เช่น
คมนาคม ออกเสียงว่า คะ-มะ-นา-คม, ชนาธิปไตย ออกเสียงว่า ชะ-นา-ทิบ-ปะ-ไต ๓.มักสะกดไม่ตรงตามมาตรา เช่น เลข รถ (นอกจากสะกดไม่ตรงตามมาตรา แล้วยัง
แสดงว่าเป็นคำบาลีสันสกฤตในลักษณะข้อ ๒ คือ ออกเสียงแยกพยางค์ได้
เช่น เลขา รถา)
๔. มักมีตัวการันต์ เพราะคำภาษาบาลี-สันสกฤตมักมีหลายพยางค์ เมื่อเรายืมมาใช้
จึงใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต ( ์ ) ฆ่าอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียงให้จำนวนพยางค์
น้อยลง เพื่อให้เข้ากับลักษณะคำไทยที่มีน้อยพยางค์ เช่น พันธุ์ โพธิ์ กาญจน์ กษัตริย์
๕. มีการแผลงหรือการเปลี่ยนแปลงสระและพยัญชนะดังนี้
สระสั้น -->ยาว / ยาว -->สั้น เช่น วน(วะ-นะ หมายถึง ป่า) --> วนา
สุริย -->สุรีย, ปีติ -->ปิติ, นีล -->นิล
สระอิ --> สระเอ --> สระไอ เช่น หิรัญ-->เหรัญ -->ไหรัญ
สระอุ --> สระเอ --> สระไอ เช่น อุรส -->โอรส -->เอารส
มหุฬาร -->มโหฬาร -->มเหาฬาร
ว -->พ, เช่น วนา -->พนา, ทิวา -->ทิพา
ฏ -->ฎ, เช่น กุฏิ --> กุฏี, ฏีกา --> ฎีกา
ต -->ด, เช่น ตุรงค์ -->ดุรงค์, ตารา -->ดารา
ป -->บ เช่น ปัทม์ -->บัทม์, ปิตา -->บิดา
๖.ใช้พยัญชนะต่อไปนี้ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ศ ษ ฬ เช่น เมฆ อัชฌาสัย ปัญญา
ฎีกา กุฏิฐาน ครุฑ วัฒนา แพร อาวุธ ภัย ศรี เกษียณ จุฬา

                                                            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น